การประกวดออกแบบสื่อภาพนิ่ง Infographic
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ขอเชิญร่…
การสกัดองค์ความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) การ Capture ความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถดึงความรู้จากผู้ปฏิบัติงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดและหมุนเกลียวความรู้อย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้
การ Capture ความรู้จะเกิดขึ้นในบรรยากาศของการแชร์ เรื่องราวความสำเร็จเล็กๆ (Success Story Sharing) จากผู้ปฏิบัติงานภายใต้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศของการเห็นคุณค่าในตัวบุคคล จนทำให้เกิดการเปิดใจ สบายใจ ที่จะเล่า (คาย) ความรู้ฝังลึกออกมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของการ Capture ความรู้จะต้องมีความสอดคล้องกับแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ดังนั้นการสร้างความเข้าใจและทักษะในการ Capture ความรู้ จึงจำเป็นต้องมาควบคู่กับการสร้างความเข้าใจ และทักษะในเรื่องกระบวนการจัดการความรู้
เนื้อหาหลักสูตร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง แนวคิดและกระบวนการของการจัดการความรู้ การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการ Capture ความรู้
2.) ผู้เข้าร่วมได้ฝึกปฏิบัติ การวางแผนการจัดการความรู้ การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการ Capture ความรู้
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Learning for Change) ภายใต้แนวคิด การวางแผนใช้ KM ยกระดับการทำงานขององค์กร ต้องกำหนดเป้าหมายเฉพาะที่สำคัญยิ่ง ที่ส่งผลต่อเป้าหมายหลักขององค์กร ให้ชัดเจน และวัดผลได้ มีการกำหนดความรู้สำคัญยิ่งยวด (Critical Knowledge) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น โดยทำอย่างเป็นระบบภายใต้กรอบงาน KM (KM Framework)
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ขอเชิญร่…
คนที่นำ KM มาใช้ในองค์กรใหม่ๆ คงจะรู้สึกคล้ายๆ ผมที่ว่า…
เราอาจจะมองว่าขั้นตอนแรกนั้นเป็นการทำความเข้าใจในระดับผ…
ก่อนที่จะพูดถึงขั้นตอนต่อไป ผมขอใช้เวลาสั้นๆ ทบทวนขั้นต…
สคส. ให้บริการที่ปรึกษาแก่ หน่วยงาน/องค์กร ที่ต้องการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) ด้วยการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายโฟกัสที่ชัดเจนที่ธุรกรรมสำคัญขององค์กร
สคส. ให้บริการอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายในหน่วยงานองค์กร ผ่านกิจกรรมจัดการความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่ทรงพลัง ของผู้บริหาร/พนักงาน/บุคลากรทุกระดับ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานโดยไม่ปิดบังความรู้ โดยเชื่อว่า ความรู้นั้นยิ่งแลกเปลี่ยนยิ่งงดงาม
มีการวางเป้าหมายชัดเจน ทำเป้าหมายเล็กก่อนเพื่อให้บรรลุถึงภารกิจหลักขององค์การ จัดการ Critical Knowledge เพื่อผลสัมฤทธิ์ของภารกิจหลัก
มีการทำเป็นระบบ โดยมีกรอบงานของการจัดการความรู้ (KM Framework) มีการวางเป้าหมายของผลิตผล ประสิทธิผล ขั้นต่ำ หรือ เป็นระยะๆ มีผู้รับผิดชอบแสดงบทบาทและความรับผิดชอบในบทบาทนั้นๆ มีกระบวนการที่ใช้เป็นมาตรฐานกลาง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการสนับสนุนอย่างครบวงจร และใช้ร่วมกันทั้งองค์กร และมีกลไกในการกำกับดูแล ตามกติกาและข้อตกลงที่มีการจัดทำไว้