เส้นทางแห่ง KM มักจะพบกับ “ทางสองแพร่ง” ตลอดเวลา

คนที่นำ KM มาใช้ในองค์กรใหม่ๆ คงจะรู้สึกคล้ายๆ ผมที่ว่า มักจะมีคำถามเกิดขึ้นตลอดเวลา และพอนำคำถามนี้ไปถามใครบางคนแทนที่จะได้คำตอบที่ตายตัว ก็กลายเป็นยิ่งทำให้งงยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มีคำตอบที่ Clear Cut ที่ชัดๆ แบบ “ฟันธง” เลย หลายๆ ครั้งทำให้รู้สึกเหมือนกับว่ายืนอยู่ตรงทางแยก ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะไปทางซ้ายหรือทางขวาดี ผมเรียกสภาพนี้ว่าเป็นการยืนอยู่ที่ “ทางสองแพร่งของ KM” ทางสองแพร่งแห่งแรกที่พบในเส้นทางการทำ KM ก็คือ ไม่แน่ใจว่าถ้าจะจัดการความรู้ ควรจะจัดการความรู้ประเภทไหนก่อนดี? ควรจะจัดการ Tacit Knowledge (ความรู้เชิงประสบการณ์ที่อิงบริบท สรุปชัดๆ ไม่ได้) ก่อน? หรือควรจะจัดการ  Explicit Knowledge (ความรู้เด่นชัดที่ได้มาจากการสรุป ตกผลึกหรือสังเคราะห์) ก่อน? หากเลือกจัดการ Explicit Knowledge ก็แสดงว่าต้องให้ความสำคัญกับการจัดการตัว Content และสิ่งที่เน้นก็คงต้องเป็นเรื่องระบบหรือการใช้ Technology แต่ถ้าตัดสินใจว่าน่าจะจัดการเรื่อง Tacit Knowledge ก่อน ประเด็นที่เน้นก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้าง Community เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่มีประสบการณ์ ได้พบปะพูดคุยกัน อย่างที่เรามักเรียกกันสั้นๆ…

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 3)

เราอาจจะมองว่าขั้นตอนแรกนั้นเป็นการทำความเข้าใจในระดับผู้บริหาร เป็นการสร้างความตระหนักสร้างการมีส่วน สร้าง Ownership และ Commitment ในเรื่อง KM จากกลุ่มผู้บริหาร ส่วนขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาผู้ที่จะมาเป็นแขนเป็นขาให้ผู้บริหาร จะเรียกคนเหล่านั้นว่า “คุณอำนวย” หรือบางแห่งอาจใช้คำว่า “KM FA”, “Change Agent” ก็ได้ ลำพังชื่อที่ใช้เรียกคงไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สิ่งที่สำคัญคือเรื่องใจของคนเหล่านั้นว่าเขาเห็นความสำคัญของบทบาทนี้หรือไม่ว่าเขาคือกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง      เมื่อ “คุณเอื้อ” มีความพร้อม “คุณอำนวย” มีความพร้อม และองค์กรมี Roadmap (จากขั้นตอนแรก) แล้วว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ความรู้เรื่องอะไรเป็นเรื่องหลักที่จะต้องจัดการ ที่จะทำการ “ต่อยอด” ต่อไป  ขั้นตอนที่สาม ก็คือการทำให้ “คุณกิจ” (คนทำงาน ผู้ที่ประสบการณ์ด้านนั้นๆ) ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กัน การ ลปรร. นี้มีหลายรูปแบบด้วยกัน ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดก็คือการทำให้ “เนียน” ไปกับงานที่ทำอยู่ บางที่มีการประชุมอยู่แล้วก็สอดแทรกวิธีการ ลปรร. แบบนี้เข้าไป ไม่ต้องไปตั้งวงใหม่ให้คนทำงานรู้สึกว่า “ประชุมมากจัง” แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือคนมักจะตก “โหมดเดิม”…

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 2)

     ก่อนที่จะพูดถึงขั้นตอนต่อไป ผมขอใช้เวลาสั้นๆ ทบทวนขั้นตอนที่ผ่านมาก (ขั้นตอนแรก) ก่อนว่า “Executive Overview” Session  ที่กล่าวไว้ในขั้นตอนแรกนั้น บางองค์กรก็จัดขึ้นมาเพียงสั้นๆ ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง (เพราะผู้บริหารระดับสูงไม่ค่อยมีเวลา) แล้วจึงไปจัดเพิ่มในลักษณะ Workshop ที่ใช้เวลา 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับว่าต้องการจะได้อะไร ถ้าต้องการเพียงแค่ Knowledge Map ก็อาจจะใช้เพียง 2 วัน แต่หากต้องการวางแผนร่วมกัน (KM Planning) ต้องการจะได้ KM Roadmap ก็อาจจะต้องใช้เวลา 3 วันก็ได้ สำหรับขั้นตอนต่อไป เราจะมุ่งความสนใจมาที่เรื่อง “การพัฒนา Knowledge Facilitator” หรือที่ สคส. เรียกกันว่า Workshop การสร้าง “คุณอำนวย” ที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะคนเหล่านี้คือผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ “อำนวยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ให้เกิดขึ้นภายในองค์กรต่อไป หากถามว่าองค์กรทุกองค์กรจำเป็นต้องมีคนทำหน้าที่นี้เสมอไปไหม? คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนในองค์กร ถ้าคนในองค์กรมีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ค่อนข้างดี บางทีก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ…

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 1)

   แม้ว่า สคส. จะทำงานด้านนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วก็ตาม แต่บทความที่เขียนอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ KM ไปใช้ในองค์กรอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนั้นถือว่ามีน้อยมาก งานเขียนหรือบันทึก (บล๊อก) ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของการเล่าประสบการณ์เป็นงานๆ ไป ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการนำ KM ไปใช้นั้นไม่สามารถลอกเลียนกันได้ เพราะในแต่ละองค์กรนั้นล้วนมีบริบทที่แตกต่างกันไป บางทีการเขียนสรุปออกมาเป็นขั้นตอนที่ตายตัวเพื่อให้นำไปใช้อาจก่อผลร้ายมากกว่าผลดีก็ได้    เนื่องในโอกาสที่ สคส. essay preis. เปิดตัวเว๊ปไซด์ใหม่ และต้องการให้คนใน สคส. เขียนบทความมากขึ้น ผมเองก็คิดว่าคงจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องสรุปประสบการณ์ต่างๆ ออกมาเป็นบทความบ้าง จึงขอประเดิมด้วยการ “ตกผลึก” คำแนะนำต่างๆ ที่เคยให้กับองค์กรต่างๆ ไว้ในบทความนี้ โดยจะทยอยเขียนออกมาเป็นตอนๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการนำ KM ไปใช้ในองค์กรว่ามีขั้นตอนอะไร และปัจจัยที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนนั้นเป็นอย่างไร โดยได้แบ่งเนื้อหาออกมาเป็นบทความหลายตอน ทั้งนี้เพื่อที่บทความแต่ละตอนจะได้ไม่ให้ยาวจนเกินไป สำหรับในตอนแรกนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากไม่ได้ทำหรือข้ามขั้นตอนนี้ไป ผมรับรองได้ว่าในที่สุดแล้วการผลักดันเรื่อง KM นี้ก็จะเป็นไปอย่างยากลำบาก  เพราะขั้นตอนนี้เป็นการสร้างความตระหนัก (Awareness) สร้างการมีส่วนร่วม (Participation) และความมุ่งมั่น (Commitment) ของผู้บริหารทุกๆ ท่านในองค์กร ขั้นตอนแรก เป็นการทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้บริหาร…

ความท้าทาย จากการเรียนรู้ แล้วนำไปปฏิบัติ

  ข้อสังเกตของผมในเรื่อง  การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัตินั้น   ผมเห็นว่า  ที่ใดก็ตามที่มีการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติได้จริง  ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆ   ฝึกอบรม  สัมมนาเชิงปฏิบัติการ  หรือ แม้แต่กระทั่งการบรรยาย    ก็ตาม  ผมเห็นหน่วยงานที่นำไปสู่การปฏิบัติได้ดี   เพราะเขามีเรื่องเหล่านี้ครับ การเชื่อมโยงให้เห็นก่อนว่ามันต่อเชื่อมกับเป้าหมายของงานที่เขาต้องการได้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น  โรงงานแห่งหนึ่ง  เขามีการติดตามและวัดผลการทำงานตลอดเวลา  วัดที่  yield   หรือ  จำนวน defect จุดที่ผิดพลาด  หรือ ผลงาน เทียบ แผนงาน   คนทำงานทุกคนจะมีตัวเลขเหล่านี้ขึ้นมาหลังจากได้ทำงานไป   ซึ่งตัวเลขเหล่านี้  สามารถบอกประสิทธิภาพของการทำงาน  แบบคนเดียว  หรือรวมเป็นทีม   เป็นแผนก  ก็ได้ สิ่งที่เขานำเสนอให้ผมฟังหลังจากเรียนรู้ไปประมาณ 2 – 3 เดือน   เขานำเสนอให้เห็นว่า  สิ่งที่เขาได้เรียนรู้ไปนั้น   พอนำไปลองปรับเข้ากับการทำงานในแผนก    สอดแทรกวิธีการที่ร่ำเรียนมาให้อยู่ในวิธีการทำงาน  แล้วมาดูว่าผลการทำงานเป็นอย่างไร?…

หัวหน้างาน : เมื่อมีสนามเล่น เราก็จะเห็นศักยภาพของผู้เล่น

หลังจากได้ไปส่งเสริมการจัดการความรู้ให้แก่หลายหน่วยงาน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเอกชน   และเห็นผลจากบางบริษัทที่เริ่มคิดสร้างสรรหาวิธีให้คนมีพื้นที่มาคุยกัน   แต่ไม่ใช่การคุยกันแบบใช้วิธีประชุมเดิมๆ นะครับ   พื้นที่การพูดคุยแบบนี้มันทำให้หัวหน้างานรู้สึกทึ่ง  ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยคาดว่าจะมี  แต่กลับมีขึ้นมาให้เห็น แต่เดิม  การพูดคุยในแผนกงานมักมีแต่  วาระตามจิก ตามจี้  บี้เอาความคืบหน้า     หัวหน้าต้องเล่นบทหนัก   ต้องพูด  ต้องคิด  ต้องออกคำสั่งมากกว่าคนอื่นๆ   ทำเช่นนี้มานานมาก   ยิ่งทำรู้สึก ยิ่งเหนื่อยอยู่คนเดียว   จนบางคนรู้สึกว่า หากขาดเรา  งานคงแย่ อาการอย่างนี้  หัวหน้าลืมสำรวจความผิดพลาดของเราเอง  มัวแต่มองว่าลูกน้องเรามันไม่เอาถ่านเสียเลย จากประสบการณ์ของบริษัทที่ทำเรื่องนี้ได้ดี  ผมสังเกตเห็นว่า   หัวหน้าจะเริ่มเปลี่ยนที่ตัวเองก่อน เช่น หากเราพูดมากกว่าคนอื่น  ลูกน้องคนไหนจะกล้าพูดมากกว่าเรา เปลี่ยนเป็น หากเราพูดให้น้อยลง  ฟังลูกน้องให้มากขึ้น  ถามให้มากขึ้น  ฟังว่าเขาเก่งอะไร  เราก็จะเห็นศักยภาพของเขา แต่  หัวหน้าหลายท่านชอบถามว่า   ก็เวลาเปิดโอกาสให้พูด  ไม่เห็นมีใครจะพูด  เงียบเป็นเป่าสาก! ใจเย็นครับ…

บรรยาย KM ระหว่างอาหารมื้อคำที่ร้านฝ้ายคำ บางนา

เมื่อคืนที่ผ่านมา (5/11/56) ชมรมนักบริหารงานบุคคล (HR) ได้เชิญผมไปพูดเรื่อง KM ให้บรรดา HR  อาวุโส ขององค์กรต่างๆ ฟัง มีผู้เข้าร่วมประมาณ 20 ท่าน  เป็นประธานชมรมทั้งในกรุงเทพ ปริมณฑล และย่านอุตสาหกรรมจังหวัดใกล้เคียง เป็นการพูดคุยนำการสนทนาแบบกันเอง ไม่เคร่งเครียด คุณวิโรจน์ สิริจันทานนท์ (นายก PMAT คนปัจจุบัน) บอกว่าจัดงานนี้ต่อเนื่องมาได้ประมาณสิบห้าปีแล้ว 2-3 เดือนพบกันที หลังจากที่วิทยากรพูดจบใครมีอะไรก็นำมาพูดจาแลกเปลี่ยนกัน อย่างที่ใน KM เรียกว่า CoP หรือ Community of Practice นั่นแหละครับ ผมนำภาพบรรยากาศมาให้ดู ท่านอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเนื้อหาเพิ่มเติมก็ถามมาในช่อง Comment ได้นะครับ ผมมาถึงร้านอาหารก่อนเวลาเกือบชั่วโมง เพราะไม่แน่ใจเรื่องการจราจร งานนี้คุณวิโรจน์บอกไว้แล้วว่าถ้ามีอุปกรณ์อะไรที่จะใช้นำเสนอก็ขอให้วิทยากรนำมาด้วย ผมเองก็เลยใช้ช่วงเวลาที่มาถึงก่อนเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เรื่องที่จะบรรยาย ใช้ชื่อว่า “KM แบบถึงรากถึงโคน” เพราะผมมองว่านัก HR คือคนที่สนใจ “บำรุงราก” ไม่เหมือนผู้บริหารทั่วไปที่ต้องการดอกต้องการผล แต่ไม่สนใจราก นัก…

“BAR and AAR” เครื่องมือง่ายๆ แต่ทรงพลังในการเรียนรู้

แนวคิด: ผู้บริหารในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน HRD หัวหน้างาน หัวหน้าทีม ที่ต้องการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้อยู่การในการทำงานปกติ หรือ NGO ที่ต้องการเสริมการเรียนรู้ของชุมชน กระบวนการเรียนรู้ง่ายๆ ที่ สคส. ถือว่าทรงพลังมากและใช้ไม่เคยขาด คือ กระบวนการเรียนรู้เรียกว่า การเรียนรู้ก่อนลงมือทำงาน (Before Action Review: BAR) และการเรียนรู้หลังการทำงาน (After Action Review: AAR) แต่เครื่องมือง่ายๆ นี้จะทำให้ทรงพลังได้ คนทำงานทุกคนต้องมีความใส่ใจ เปิดใจ ไว้วางใจในกระบวนการ และต้องมีทักษะเบื้องต้น คือ การตีความให้คุณค่า การตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกต และความประณีตดังกล่าวนี่แหละที่ทำให้ BAR และ AAR ของ สคส. ต่างจากการประชุมเตรียมงานหรือสรุปงานทั่วไป   สิ่งที่จะได้เรียนรู้: การเรียนรู้ในงานประจำ เทคนิคการเรียนรู้ก่อนลงมือทำงาน เทคนิคการเรียนรู้หลังการทำงาน รูปแบบการเรียนรู้: ใช้กิจกรรมกลุ่มย่อย หรือสื่อวีดิโอ แล้วชวนผู้เข้าร่วมพูดคุยสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน  วิทยากรจะสรุปประเด็น หลักการ และวิธีคิด ให้หลังการสะท้อนการเรียนรู้…

Lessen Learned ถอดบทเรียนความสำเร็จ เครื่องมือในการพัฒนางานและคนไปพร้อมๆ กัน

ภาพรวมหลักสูตร หลักสูตรที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้หลักการ แนวคิด แนวทาง กระบวนการ เทคนิค วิธีการและเครื่องมือในการถอดบทเรียนความสำเร็จจากการทำงาน ผ่านการฝึกปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อรู้ถึงคุณค่า ทำความเข้าใจและนำไปปรับประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการทำงานและตนเองได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะกับองค์กรและผู้ที่ต้องการดำเนินงานให้สัมฤทธิผลแบบก้าวกระโดด ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพคนทำงานไปพร้อมๆ กัน วัตถุประสงค์ เพื่อรู้ถึงคุณค่า ประโยชน์และสร้างเจตคติที่ดีต่อพัฒนาการทำงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเข้าใจแนวคิด หลักการ เครื่องมือ เทคนิค วิธีการและขั้นตอนในการถอดบทเรียนความสำเร็จในการทำงาน เนื้อหาหลักสูตร ปรัชญา แนวคิดและหลักการถอดบทเรียนความสำเร็จ ความสำคัญ ประโยชน์และคุณค่าของการถอดบทเรียนความสำเร็จ เทคนิค ขั้นตอนและกระบวนการถอดบทเรียนความสำเร็จ ตัวอย่างและประสบการณ์การถอดบทเรียนความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและข้อพึงระวังในการถอดบทเรียนความสำเร็จ รูปแบบการเรียนรู้ การเรียนรู้แบบ Play & Learn ผ่านกิจกรรมการฝึกทักษะและเรียนรู้แบบกลุ่ม It’s do my homework impressive to tackle another class if you’re up for it

“Note Taker” คุณลิขิตผู้บันทึกความรู้ปฏิบัติเพื่อพัฒนาการทำงาน

ภาพรวมหลักสูตร การได้มาซึ่งความรู้ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยากมาก  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี “คุณลิขิต หรือ Note Taker” ช่วยบันทึกรวบรวมความรู้เหล่านั้น เพราะ “ความรู้ดีๆ” หากไม่มีการบันทึกไว้ หรือบันทึกไม่ครบถ้วน “ความรู้ดีๆ” เหล่านั้นก็เลื่อนหายไป พอถึงคราวที่ต้องใช้ความรู้เดิมอีกก็ทำให้เสียเวลาลองผิดลองถูกใหม่อีกครั้ง และทำให้เสียโอกาสที่จะต่อยอดความรู้ดีๆ แบบก้าวกระโดด  หน้าที่ของ “คุณลิขิต” ไม่ใช่เป็นผู้บันทึกเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีทักษะในการออกแบบและจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ เป็นคลังความ (Knowledge Asset) ที่สามารถ เข้าถึง ต่อยอดและพัฒนาความรู้ได้ไม่สิ้นสุด การจะทำหน้าที่ “คุณลิขิต หรือ Note Taker” จำเป็นต้องมีทักษะหลายด้าน อาทิ การฟังอย่างลึกซึ้ง การจดบันทึกที่รวดเร็ว ครบถ้วน การจัดการครลังความรู้ให้เป็นระบบ เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้ต้องอาศัยการฝึกฝนและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จึงจะปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งองค์กรและตนเองได้ การจะเป็น “คุณลิขิต” จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้การทำหน้าที่เกิดประสิทธิผลมากที่สุด Workshop ครั้งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อต้องการให้เรียนรู้บทบาท หน้าที่ และทักษะสำคัญที่ “คุณลิขิต” ควรจะมีเพื่อดึงความรู้มือหนึ่งในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัตถุประสงค์ เรียนรู้ทักษะเบื้องต้นของการเป็นคุณลิขิต เช่น ทักษะการฟัง การจับประเด็น การบันทึกเรื่องเล่าความรู้ปฏิบัติ…