โครงการเสริมพลังเครือข่ายการเรียนรู้ระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System/DHS)   ด้วยการจัดการความรู้ยุคใหม่ (KM 3.0) และการจัดการข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ

แนวคิดของโครงการ

โครงการนี้เป็นปีแรกของโครงการที่ต้องใช้เวลาดำเนินการ 3 ปี เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ใน ระบบสุขภาพอำเภอ(DHS) โดยใช้ KM 3.0 หนุนเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการสุขภาพใน DHS และเครือข่ายเรียนรู้ข้ามอำเภอ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาพร่วมกัน โดยเริ่มต้นที่ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง  เสริมด้วยเทคโนโลยี IT โดยจะริเริ่มนำ Big Data มาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง  แล้วส่งเข้าระบบข้อมูล DHS ของพื้นที่ ผล/ข้อมูลที่ได้จากการประมวลจะเป็นข้อมูล support ให้ทีม DHS แต่ละพื้นที่ นำไปประกอบกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิธีการดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. สร้างต้นแบบระบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติด้านการจัดการสุขภาพใน DHS จนเกิดเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) ระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นในแต่ละ DHS พื้นที่นำร่องก่อผลต่อการควบคุมโรคเรื้อรังได้ดีขึ้นอย่างเห็นผล เกิดการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่าง 3 DHS พื้นที่นำร่องที่จะเอื้อต่อการขยายผลสู่อีกหลายร้อย DHS
  2. ริเริ่มเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) ในมิติใหม่ ที่มี Big Data Analysis หนุน โดยการนำข้อมูลพฤติกรรมของผู้ป่วย (Behavioral Big Data) เข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิตอลแล้วใช้เครื่องมือ Big Data วิเคราะห์ป้อนผล (Feedback) กลับเข้าไปใน Learning Network เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย (ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)

แนวทางการดำเนินงานโครงการ

  1. ค้นหาและศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่จับภาพDHS พื้นที่นำร่อง ที่มีลักษณะหรือความพร้อมที่จะทดลองใช้ KM 3.0 พัฒนาการเรียนรู้และการทำงานของDHS
  2. สนับสนุนให้ DHS พื้นที่นำร่อง จัดทำแผนและดำเนินการใช้ KM 3.0 เพื่อพัฒนาการทำงานตอบโจทย์การสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ตนเอง
  3. ร่วมมือกับ ICT Strategic Partner พัฒนา วิธีการส่งข้อมูลเชิงพฤติกรรมโดยใช้ Big Data technology มาจัดเก็บและประมวลข้อมูลสำคัญๆ ที่โยงกับสุขภาพหรือสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการ (Outcome)

  1. เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ภายใน  DHS พื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนาการทำงาน อย่างเชื่อมโยงและเป็นระบบ เพื่อดูแลสุขภาพของคนในชุมชน/พื้นที่อำเภอ (เริ่มต้นจากกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
  2. ได้ต้นแบบระบบและเครื่องมือเชื่อมข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลพฤติกรรมส่วนบุคคล ไปสู่ระบบ DHS เพื่อให้ผู้ให้บริการสุขภาพในพื้นที่ สามารถบริหารจัดการ หาวิธีให้บริการดูแลสุขภาพประชาชน(กลุ่มเป้าหมาย)ในพื้นที่ได้เป็นรายบุคคล (Personal Health Care)
  3. ได้ต้นแบบ Learning Network ระหว่าง  3  DHS พื้นที่นำร่อง จากการพัฒนาและใช้ Big Data technology และ Learning process เข้าไปหนุนการทำงานของแต่ละพื้นที่นำร่อง เพื่อดูแลสุขภาพคนในชุมชน

ภาพกิจกรรม

ศึกษาดูงาน DHS ในพื้นที่ จ.สระบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา