โครงการสร้างการเรียนรู้และพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนผ่านพื้นที่ฐานการทำงานโรงเรียน

 

วัตถุประสงค์ (Development phase 3 เดือน)

คือ ถอดบทเรียนและวิเคราะห์ทำความเข้าใจ การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนผ่านพื้นที่ฐานการทำงานโรงเรียนหรือสถานศึกษา จากโครงการดีเด่น (Best Practices) ของ สสส. เพื่อสังเคราะห์เป็นแนวทางและยุทธศาสตร์การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ผ่านพื้นที่ฐานการทำงานโรงเรียน ที่จะส่งผลไปสู่การยกระดับสุขภาวะตัวเด็กและเยาวชนไทยได้ดียิ่งขึ้น ในระยะยาว

 

คุณค่าต่อเป้าหมายในระยะยาว

สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนทำงาน ทั้งเชิงประเด็น หน่วยภารกิจ พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย (ผู้จัดการโครงการ, ผู้บริหารแต่ละสำนักของ สสส., แกนนำคนทำงานในพื้นที่ รวมถึงภาคียุทธศาสตร์ ทั้งในระดับหน่วยงาน และพื้นที่) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และโครงสร้างการทำงานใหม่ร่วมกัน ที่สามารถขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนของสังคมไทยได้อย่างสอดคล้อง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ส่งผลยกระดับสุขภาวะตัวเด็กและเยาวชนไทยโดยตรง

 

ขอบเขตการดำเนินงาน

ศึกษาและถอดบทเรียนการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนผ่านพื้นที่ฐานการทำงาน (setting) โรงเรียนหรือสถานศึกษาจาก

  • โครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ดีเด่น (Best Practices) ของ สสส. ที่ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักต่างๆ ของ สสส. จำนวน 10 โครงการ
  • ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคียุทธศาสตร์ สสส. ที่มีประสบการณ์การทำงานผ่าน setting โรงเรียน/สถานศึกษา 

 

การดำเนินงาน

  1. ศึกษา (review) ข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารโครงการฯ และข้อมูลของภาคียุทธศาสตร์

ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ของ สสส. ที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นโครงการฯ ดีเด่น จำนวน 10 โครงการ เพื่อคัดเลือกบุคคลและพื้นที่ในการถอดบทเรียน จำนวน 10 ตัวอย่างดี/พื้นที่ดี (Best Practices) โดยสร้างเกณฑ์ในการคัดเลือกร่วมกับ สสส.

  1. ลงพื้นที่สัมภาษณ์และถอดบทเรียนการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน

ดำเนินการลงพื้นที่สัมภาษณ์และถอดบทเรียนการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ผ่าน Setting โรงเรียน ของ Best Practices ที่ได้รับการคัดเลือก โดยทีมนักวิชาการร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อวางกรอบและประเด็นในการถอดบทเรียน

จัดทีมนักวิชาการถอดบทเรียน ที่มีคุณสมบัติหลัก คือ 1) มีทักษะในการสัมภาษณ์เจาะลึกเรื่องราว มุมมองความคิด โดยไม่ทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกอึดอัด 2) จัดเป็นคู่/ทีม เพื่อช่วยกันถามในมุมที่ต่างๆ กัน และได้มุมมองข้อสังเกตที่มากขึ้น 3) ช่วยกันประมวลภาพรวมของแต่ละเคสได้ครอบคลุมและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

*** เก็บบทเรียน 4 ระดับ คือ

  • ผู้จัดการโครงการ (PM) : วิธีคิด ยุทธศาสตร์ วิธีการ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน
  • Node หรือแกนนำในพื้นที่ : วิธีคิด วิธีการ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการทำงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ที่สอดคล้อง เชื่อมโยง และเหมาะสมกับบริบทพื้นที่/โรงเรียน/ตัวเด็ก
  • โรงเรียน (ผู้บริหาร/ครู/เด็ก) : วิธีคิด วิธีการ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนที่เกิดผลต่อเด็กอย่างแท้จริง
  • ภาคียุทธศาสตร์ในพื้นที่ หรือโครงการฯ : การเชื่อมโยงและหนุนเสริมการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

  1. ประชุมทีมวิชาการเป็นระยะๆ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ ทำความเข้าใจข้อมูลและบทเรียนที่ได้จากพื้นที่

มีการประชุม 2 ระดับ

  • ประชุมทีมวิชาการร่วมกับ ที่ปรึกษาโครงการฯ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยชี้แนะแนวทางและประเด็นในการวิเคราะห์ สังเคราะห์งาน
  • ประชุมทีมวิชาการร่วมกัน เป็นระยะๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้า และร่วมกันวิเคราะห์ ประมวลงานแต่ละเคสออกมาเป็นภาพ + ออกแบบกระบวนการและประเด็นสำหรับจัด Workshop เพื่อให้ได้มุมมองการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่หลากหลาย ลึกมายิ่งขึ้น มาเติมเต็มงาน

 

  1. Workshop วิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ทำงานส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน

จัด Workshop ชวนเชิญตัวแทนผู้จัดการโครงการ Node/แกนนำในพื้นที่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูแกนนำ รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคียุทธศาสตร์ ที่มีประสบการณ์การทำงานผ่าน setting โรงเรียน/สถานศึกษา มาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ ต้นทุน และแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ผ่าน setting โรงเรียน/สถานศึกษา

     5.  ทีมวิชาการเก็บรวบรวมประเด็น มุมมองการวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะต่างๆ จาก workshop นำมาจัดทำบทวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนวทางการ/ยุทธศาสตร์การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน เสนอต่อ สสส.

  1. สื่อสารสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ (สคส. ทำให้ฟรี ไม่คิดงบประมาณ)

โครงการจะสื่อสารเรื่องราวบทเรียนและผลของ workshop โครงการ ผ่านช่องทางออนไลน์ของสังคม อาทิ facebook Page และเว็บไซต์ ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม เว็บบล็อก (webblog) ของที่ปรึกษาโครงการ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เพื่อตั้งต้นสื่อสารกระตุ้นให้สังคมรับรู้ ติดตามและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับโครงการ